ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล

Image
ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล แล้วลองผลักน้ำจากฝั่ง ทำคลื่นดันกลับเข้าไปหาทะเล สร้างคลื่น สู้กับทะเล ลองทำดู ทั้งคลื่นลูกเล็ก และคลื่นลูกใหญ่ คุณจะพบว่า ไม่ว่าคุณจะสร้างคลื่นดันกลับไปในรูปแบบไหน คุณจะไม่มีทางชนะคลื่นจากทะเลได้เลย  ไม่มีทาง ความจริงที่คุณได้จากเรื่องนี้คือ "ตลาดจะถูกเสมอ" . Market Wizards ยอมรับตรงกันว่า "ตลาดจะทำในสิ่งที่มันอยากจะทำ" พวกเขาไม่เคยหัวเสียกับตลาด(เพราะเคยทำมาแล้วในตอนเป็นมือใหม่) พวกเขาไม่เคยโทษตลาด(เพราะเคยทำมาแล้วในตอนเป็นมือใหม่) . พวกเขาแค่ยอมรับว่าตลาดจะทำในสิ่งที่มันจะทำ พวกเขาแค่ยอมรับว่าเขาไม่สามารถเอาชนะตลาดได้ จากนั้นสิ่งที่พวกเขาทำก็คือ ๑) อ่านตลาด ๒) แยกแยะความเสี่ยงกับโอกาสให้ได้ ๓) หาโอกาสทำเงินเมื่อตลาดให้โอกาส และอยู่เฉย ๆ ถือเงินสดเมื่อตลาดเป็นความเสี่ยง ๔) คิดก่อนเสมอว่า "ถ้าตลาดไม่ให้เงิน(เทรดขาดทุน) ฉันจะยอมเสียกี่บาท" การเอาตัวรอด คือเป้าหมายแรกของยอดนักเทรด เพราะคิดแบบนี้...ไม่ว่าตลาดจะร้ายแค่ไหน ยอดนักเทรดก็จะรอดเสมอ #จิตวิทยาการเทรด #ปั้นพอร์ต #วินัยนัก

หนังสือหุ้นเทคนิค : Technical Analysis

หนังสือหุ้นเทคนิค
หนังสือหุ้นเทคนิค

เห็นมีคำถามประเภท ช่วยแนะนำหนังสือหุ้นเทคนิคให้หน่อย " ปรากฎที่เว็บ pantip เรื่อยๆ ก็เลยอยากมีส่วนร่วม เอามาตอบไว้ใน zyo blog ของตัวเอง

ก็ต้องออกตัวไว้ก่อนเลยว่า เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆเลยนะครับ
ก่อนจะเข้าไปถึงชื่อหนังสือ ขอเปิดประเด็นที่คำว่า "หนังสือหุ้นเทคนิค" เสียก่อน
ว่ามันหมายความว่าอะไรกันแน่
นั่นสินะ หนังสือหุ้นเทคนิค มันคืออะไร?



ต้องเริ่มต้นจากต้นตำหรับ คือฝรั่งมังค่าโน่นแหละครับ ผมคิดว่ามันมาจากคำว่า "Technical Analysis Book" นั่นเอง ซึ่งถ้าจะแปลตามตัวก็ควรจะเป็น หนังสือวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค อะไรประมาณนี้
แต่ด้วยความที่คนไทยเราเห็นว่ามันยาวเนิ่นเย้อเสียเต็มประดา กว่าจะเขียนออกมาก็ยาวยืด พูดก็ติดๆขัดๆ ไหนๆก็ไหนๆ กร่อนมันให้สั้นลงเสียดีกว่า กลายเป็น "หนังสือหุ้นเทคนิค" ในที่สุด
ซึ่งผมก็คิดว่ามันดีเลยนะ สั้นๆ ได้ใจความ

เอาล่ะ จบประเด็นที่มากันแล้ว
ต่อไปก็เป็นเรื่องของรายละเอียด เนื้อใน ของมันแล้วล่ะ
ต้องกลับไปที่รากของมัน อันมีที่มาจากฝรั่งแล้วล่ะครับ คือ Technical Analysis


คุณรู้กันมั้ยว่า คำนี้เริ่มจากไหนกัน?
wikipedia บอกไว้ว่า มันปรากฎครั้งแรกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ท่านทวด Joseph de la Vega ที่ Amsterdam ได้เอามาใช้เป็นคนแรก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โน่นเลย
จากนั้นอีกร้อยปี ก็มีปรากฎที่ญี่ปุ่น เอเชียเรานี่เอง ท่านนี้เราน่าจะรู้จักกันดี คือ Homma Munehisa ผู้ให้กำเนิดแท่งเทียนนั่นเองครับ
อีกร้อยปีต่อมา ระหว่างปี 1920-1930 นาย Richard W. Schabacker ได้ตีพิมพ์หนังสือที่ต่อยอดงานเขียนของ  Charles Dow และ William Peter Hamilton จนได้หนังสือชื่อ Stock Market Theory and Practice and Technical Market Analysis.
หน้าตาเป็นแบบนี้
ทั้งคู่น่าจะสามารถเคลมได้ว่าเป็น หนังสือหุ้นเทคนิค เล่มแรกๆของโลก เลยก็ว่าได้ครับ
แต่จะว่าไปแล้ว งานของ Joseph de la Vega กับ Homma Munehisa น่าจะเก่ากว่า เพียงแต่ผมหารูปที่ดูน่าเชื่อถือไม่เจอ ก็เลยไม่สามารถเอามาโชว์ได้
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Technical_analysis

ก็ถือว่าจบนะครับ ในส่วนของความรู้รอบตัว ใครอังกฤษเก่ง ก็แนะนำให้เข้าไปอ่านตามลิ้งค์ที่ผมแปะไว้ได้เลยครับ เนื้อหายาวและละเอียดกว่าที่ผมยกมาโม้แยะ



บ้านเราล่ะ?
ใครทำหนังสือหุ้นเทคนิคขายเป็นคนแรก?
ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใครเขียน (แล้วจะจั่วหัวทำไมไม่ทราบ บ้าบอคอหอยพอก)
ลองค้น google ดูก็ไม่ได้บอกกันไว้เลย ไม่มีใครรายงานกันแม้แต่คนเดียว
อันนี้ผมก็เดานะ ว่าหนังสือเหล่านี้แหละ น่าจะเป็น หนังสือหุ้นเทคนิค เล่มแรกๆของบ้านเรา
๑) "วิเคราะห์หุ้นด้วยกราฟแท่งเทียน" ของอาจารย์ ป. ดัชนี ระบุว่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี  2537 น่าจะเก่าสุด
๒)  "วิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยทางเทคนิค" ของอาจารย์ ป. ดัชนี ระบุว่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี  2538
ที่มา ปกหลังหนังสือ พิชิตหุ้นด้วยกราฟแท่งเทียน

แต่ก่อนผมเคยคิดว่าหนังสือ "การวิเคราะห์ทางเทคนิค" โดยอาจารย์ สุรชัย ไชยรังสินันท์ น่าจะเป็นเล่มแรกๆของบ้านเรา แต่ก็หาข้อมูลไม่ได้ว่าแกพิมพ์ครั้งแรกเมื่อไร
หนังสือหุ้นเทคนิค

เห็นปกคร่ำคร่าเอามากๆ

อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรหรอก ถ้าคุณไม่ได้เอามันไปสอบไล่เลื่อนชั้นซะเมื่อไหร่ ผมแค่เอามาแชร์ปลายเปิดเอาไว้เผื่อใครมีข้อมูลที่ลึกกว่านี้ก็แจ้งกันมาได้ครับ เพราะผมเองก็เพิ่งเข้าตลาดมาได้ 5-6 ปีนี่เอง จึงไม่ทันจริงๆ

ต่ออีกประเด็นเลย ก็คือ เล่มไหนดี?
มันก็ตอบยากนะครับ เพราะแต่ละคนก็มีพื้นฐานความรู้ต่างกัน
เท่าที่ผมอ่านมาบ้างนะ ก็แบ่งหนังสือหุ้นเทคนิค ได้ ๒ ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ....
๑) ประเภทรวมสูตร
๒) ประเภท advance เจาะลึกไปตามเรื่องนั้นๆเลย



หนังสือหุ้นเทคนิคประเภทรวมสูตร
ถ้าจะให้เริ่มตั้งแต่มือใหม่เลย ก็ต้องเป็นหนังสือประเภทที่จั่วหัวมีคำว่า "มือใหม่" อยู่ด้วยแหละ เป็นประเภทรวมสูตร เหมือนหนังสือรวมสูตรเคมี วิทยาศาสตร์ ตอนมัธยมน่ะครับ จำกันได้มั้ย หนังสือประเภทนี้ทำง่ายครับ เพราะบางทีผู้เขียนไม่จำเป็นต้องเทรดทั้งหมดทุกท่าก็ได้ เอาแค่ผ่านๆ หรือ จับโน่นจับนี่มาปะปนกัน ก็ได้เป็นเล่มแล้ว

เห็นเยอะครับพวกนี้ ท่านเดินไปตามร้าน หยิบมาอ่านได้เลย ไม่ต่างกันมาก นี่บอกกันตรงๆ เพราะสูตรทางเทคนิคอลมีไม่มากนักหรอก ไม่หนีหัวข้อประเภท แนวรับแนวต้าน, เทรนด์ไลน์, price pattern, เส้นค่าเฉลี่ย, MACD, RSI เปิดเล่มไหนก็เจอครับ เขียนง่าย อ่านง่าย เขียนเมื่อไหร่ก็ขายได้ เพราะมันเหมือนจะคุ้มนะ หว่านแหได้ทั้งตลาดเลย ซื้อเล่มเดียวได้สูตรเพียบ
 อาทิ.....
- WaveRiders โต้คลื่นหุ้น รู้ทันเทคนิค
- เทรดหุ้นด้วยกราฟ ฉบับมือใหม่
- โต้คลื่นหุ้น : เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า
- คู่มือวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค : Technical Analysis Step by Step
- คัมภีร์เทคนิควิเคราะห์หุ้น (ฉบับรวมเล่ม)
- พิชิตหุ้นด้วยปัจจัยทางเทคนิค
- หุ้นพลิกชีวิต
- จับจังหวะหุ้นด้วยปัจจัยเทคนิค : ชุด ครบเครื่องเรื่องลงทุน
- มหัศจรรย์แห่งเทคนิค : เพื่อให้เข้าถึงหัวใจ
- รวยและรอดด้วยกราฟเทคนิค
ฯลฯ อีกบานเลยครับ ลองเข้าไปที่เว็บ se-ed.com ดูก็ได้ครับ
ในความเห็นของผมนะ หนังสือเหล่านี้ใช้อ้างอิงได้ แต่จะเอาไปใช้จริง คิดว่าลำบากพอสมควร เพราะว่าด้วยความที่เขาเน้นปริมาณ คืออัด อินดิเตอร์, pattern เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องยกเคสมาให้ดูแค่หัวข้อละเคส ทำให้มันดูเหมือนง่าย แต่ในโลกของความจริงแล้ว มันไม่มีอะไรที่สำเร็จรูปขนาดนั้นหรอก ถ้ามันเป๊ะจริง ป่านนี้คงไม่มีใครเจ๊งหุ้นแล้วครับ

อย่างไรก็ตาม ข้อดีของหนังสือประเภทแรกก็คือ มันสามารถเป็นพื้นฐานในการเอาไอเดียไปทดลองทำได้ครับ เอาเทคนิคนี้ไปใช้ดูหน่อยสิว่าเวิร์คมั้ย ถ้าไช้ดี ก็เอาไปหาข้อมูลเพิ่มเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น คือต้องบอกไว้ก่อนเลยว่า ทุกไอเดียมันดีหมดแหละ เพียงแต่ว่า มันไม่มีสูตรไหนที่แม่นแบบ 100% คุณต้องหาให้เจอว่าแบบไหนมันเหมาะกับตัวเอง ลองทำแล้วมักจะได้กำไรแฮะ ถ้าเจอตัวที่น่าจะใช่ คุณค่อยขยับไปยังหนังสือหุ้นเทคนิคประเภทที่สองต่อไป



หนังสือหุ้นเทคนิคประเภท advance
ผู้เขียนหนังสือประเภทนี้ได้ ก็ต้องพอมีความรู้ในทางการเทรดอยู่บ้าง หรือบางท่านหากไม่ได้เทรดจริง ก็ต้องค้นคว้าหาความรู้มาอย่างหนักหน่วงเลยล่ะครับ ต้องอ่านตำราภาษาอังกฤษได้ ทุ่มเทเวลาเป็นปีๆ เพื่อเอามารวมเป็นองค์ความรู้ของตัวเอง แล้วถ่ายทอดออกไปเป็นเล่มได้

หนังสือหุ้นเทคนิคประเภทนี้ ค่อนข้างอ่านยากถ้าไม่มีพื้น แต่ถ้าศิษย์พร้อม อาจารย์ก็พร้อมเช่นกัน
คือถ้าคุณทดลองเทรดตามสูตรที่หนังสือประเภทแรกได้ให้ไว้จนเจอของถูกใจ อยากได้ความรู้เพิ่มเพื่อปกปิดจุดอ่อน หนังสือหุ้นเทคนิคประเภท advance จะเป็นคำตอบที่ใช่ของคุณเลย

นี่เอาจากประสบการณ์ของผมเองนะ ผมก็เริ่มต้นจากการอ่านหนังสือรวมสูตรมาก่อนแหละ งานของพี่ปุย Wave Raider, อาจารย์ป. ดัชนี ฯลฯ ก็ไปชอบไอเดียของการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเข้าให้ คือใช้แล้วมันเวิร์คแฮะ แล้วก็เคยได้กำไรก้อนโตจากการรันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย(แบบฟลุ๊คๆ) ก็เลยชอบอินดิเคเตอร์ตัวนี้มาก จึงพยายามหาข้อมูลหนังสือของคนที่ใช้เส้นค่าเฉลี่ยแล้วได้ดีบ้าง
มันก็พาไปเจองานแปลหนังสือของปู่วิลเลี่ยม โอนีล ชื่อ "CANSLIM คัดหุ้นชั้นยอด ด้วยระบบชั้นเยี่ยม"
CANSLIM คัดหุ้นชั้นยอด ด้วยระบบชั้นเยี่ยม
ผมเปิดอ่านแล้วชอบเลย โดยเฉพาะกราฟหุ้นที่แกใส่มาไว้ในหนังสือ มันแจ่มมากครับ แรกๆผมชอบละเลียดดูกราฟไปทีละหน้า ทีละหน้า เพื่อหาจุดร่วม ซึ่งมันทำให้ผมมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของเส้นค่าเฉลี่ยเพิ่มอีกเท่าตัวเลย (นี่แหละครับเป็นทีมาของหนังสือ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" กับ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" ของผมเอง)

จากนั้นผมก็อยากอ่านงานแบบเดียวกันนี้อีก (คือนอกจากที่ผมจะได้ความรู้ทางด้านกราฟและเส้นค่าเฉลี่ยจากเล่มนี้แล้ว ก็ได้ไอเดียในการหาหุ้นจากพื้นฐานด้วย) ผมก็ไปเจออีกเล่มคือ "เทรดหุ้นให้ได้กำไรขั้นเทพ" ของพี่มาร์ค มิเนอร์วินี
เทรดหุ้นให้ได้กำไรขั้นเทพ
เล่มนี้ยิ่งทำให้ผมคลั่งใหญ่เลยครับ ทั้งๆที่ ใจความในเล่มนี้แทบไม่ต่างจากของปู่โอนีลเลย แต่ด้วยความที่พี่มาร์คอธิบายด้วยภาษาที่ต่างไป ทำให้ตัวผมเองเห็นและเข้าใจรูปแบบราคา cup with handle มากขึ้น ซึ่งผมก็เอางานของแกไปขยี้ เขียนเป็นบล็อกได้หลายบทความเลยทีเดียว เพราะคลั่งมาก

จากนั้น หนังสือ Momentum Master ก็ทำให้ผมประทับใจขึ้นไปอีก
Momentum Master
คือมันได้เจาะลึกแนวทางการเทรดของไอดอลตามแนวทางที่ผมชอบ ให้ลงรายละเอียดได้ลึกกว่าเดิมอีก ซึ่งถือเป็นเรื่องดีมากๆ

นี่แหละครับ คือความพิเศษของหนังสือหุ้นเทคนิคประเภท advance ที่ถ้าหากมันมีเนื้อหารับใช้ความอยากรู้ของตัวเราเองมันก็จะเปิดโลกให้เราเห็นอะไรที่กว้างขึ้นได้อย่างดีเลย แถมท่านจะอ่านได้อย่างเพลิดเพลินเหมือนอ่านนิยายกันเลยทีเดียว เพราะเปิดไปหน้านี้ก็ร้องว้าว ความรู้ใหม่ เปิดไปอีกหน้าก็ร้องวู้ว นี่ก็น่าสน คุ้นๆแฮะน่าเอาไปลองทำดู คือมันจะพาเราไปหาแนวทางใหม่ๆ วิธีคิดมุมมองที่น่าจะช่วยปกปิดจุดอ่อนของการเทรดเราได้ อะไรประมาณนี้

ถ้าหากคุณชอบอีเลียตเวฟ ก็น่าจะคล้ายกัน เพราะมีหนังสือเจาะลึกออกมาเพียบเช่นกัน



ถ้าจะให้ตอบว่าหนังสือหุ้นเทคนิคระดับ advance เล่มไหนดี ผมคงตัดสินไม่ได้
เพราะมันขึ้นอยู่กับความชอบของคุณแล้ว ขอยกเอาที่ผมเคยผ่านตาก็แล้วกันนะ ไม่ครบทุกเล่มหรอก
- โมเมนตัม มาสเตอร์ : Momentum Masters
- เทคนิควิเคราะห์หุ้น Fibonacci Trading
- System Trading เทรดหุ้นอย่างเป็นระบบ
- CAN SLIM คัดหุ้นชั้นยอด ด้วยระบบชั้นเยี่ยม : How to Make Money in Stocks
- รหัสลับฟีโบนัชชีในตลาดหุ้น : The Fibonacci Code in Stock Market
- เทรดเพื่อชีวิต : The New Trading for a Living
- แมงเม่าสำราญ
- มหัศจรรย์คลื่น ARC
- วิพากษ์ 2 สุดยอดทฤษฎีคลื่น
- หุ้นลิ่งดาวอังคาร
- เทคนิคตามล่าหาหุ้นเวฟ 3X ด้วยคลื่นเอลเลียต
- เล่นหุ้นอย่างไร ไม่มโน ฉบับ อ่านง่าย ใช้ได้จริง
ฯลฯ ยังมีอีกเยอะครับ ซึ่งคุณต้องเจาะรายละเอียดเนื้อใน สารบัญของมันอีกที ว่าจะตรงกับความต้องการของคุณมั้ย พวกนี้หาได้ตามร้านหนังสือซีเอ็ด นายอินทร์ B2S ได้ครับ น่าจะมีอยู่เกือบครบ

นอกจากนี้ก็ยังมีหนังสืออินดี้ ที่เจ้าของทำเองขายเอง ก็ไม่ใช่ใครอื่น ก็คือตัวผมเองนี่แหละครับ
เป็นหนังสือหุ้นเทคนิคที่ปล่อยของแบบไม่มีกั๊ก ชื่อ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" และ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด"

หนังสือหุ้นเทคนิค
ทำไมใครๆต่างบอกว่าหนังสือทั้งสองเล่มเป็นการปล่อยของแบบไม่กั๊ก?

"หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" แนะแนวทางการเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้น ด้วย กราฟวีค ก็จะเน้นการดูแนวโน้มขาขึ้นด้วย price pattern จากนั้นก็รันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย จบลงที่การขายด้วย price pattern เรียกว่าครบวงจรตั้งแต่ซื้อยันขายเลยครับ อ่านเล่มเดียวจบ
อ่านสรุปหนังสือ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ ที่ http://zyo71.blogspot.com/2017/09/blog-post_7.html

ส่วน "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" แนะแนวทางการเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้นด้วยกราฟรายวัน เล่มนี้จะเน้นการดูแท่งเทียน เอามาใช้ในการหาสัญญาณต้นเทรนด์ของขาขึ้น ซื้อหุ้นแบบ buying strength, buy weakness รันเทรนด์ระยะสั้นด้วยเส้นค่าเฉลี่ย ขายหุ้นออกด้วย selling into strength, selling weakness เรียกว่าครบวงจรตั้งแต่ซื้อยันขายเลยครับ อ่านเล่มเดียวจบ
อ่านสรุปหนังสือ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด ที่ http://zyo71.blogspot.com/2018/04/ema-swing-trade.html 


(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ


www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

คำค้นเพิ่มเติม : หนังสือหุ้นเทคนิค, ซื้อหนังสือหุ้น, หนังสือหุ้น เทคนิค pantip, หนังสือวิเคราะห์กราฟหุ้น, หนังสือ technical analysis, หนังสือ กราฟหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ